การวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ

การวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ

          1  การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เป็นการวิจัยที่มุ่งหาข้อเท็จจริงและข้อสรุปเชิงปริมาณ เน้นการใช้ข้อมูลที่เป็นตัวเลขเป็นหลักฐานยืนยันความถูกต้องของข้อค้นพบ และสรุปต่างๆ มีการใช้เครื่องมือที่มีความเป็นปรนัยในการเก็บรวบรวมข้อมูลเช่น แบบสอบถามแบบทดสอบ การสังเกต การสัมภาษณ์ การทดลอง เป็นต้น  
                   2 การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เป็นการวิจัยที่นักวิจัยจะต้องลงไปศึกษาสังเกต และกลุ่มบุคคลที่ต้องการศึกษาโดยละเอียดทุกด้านในลักษณะเจาะลึก ใช้วิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการเป็นหลักในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิเคราะห์ข้อมูลจะใช้การวิเคราะห์เชิงเหตุผลไม่ได้มุ่งเก็บเป็นตัวเลขมาทำการวิเคราะห์

ข้อแตกต่างระหว่างการวิจัยเชิงเชิงคุณภาพและการวิจัยปริมาณ

            การวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพมีที่มาแตกต่างกัน กล่าวคือ  การวิจัยเชิงคุณภาพมีพื้นฐานปรัชญาแบบธรรมชาตินิยม (Naturalism)  ในขณะที่การวิจัยเชิงปริมาณมีพื้นฐานแบบปรัชญาแบบปฏิฐานนิยม  (Positivism)  ดังนั้น การค้นหาความจริงด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพจะเน้นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามสภาพการณ์ที่เป็นธรรมชาติ  ซึ่งบางครั้งเรียกว่า แนวคิดแบบปรากฎการณ์นิยม (Phenomenalism)  แล้วอาศัยวิธีการพรรณนาเป็นสำคัญ  ในขณะที่การค้นหาความจริงด้วยวิธีการวิจัยเชิงปริมาณต้องอาศัยกระบวนการหรือวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่อยู่บนรากฐานของข้อมูลเชิงประจักษ์ และขั้นตอนที่มีระเบียบแบบแผน

            ในกระบวนการศึกษาวิจัยด้วยวิธีการเชิงคุณภาพจะเริ่มต้นด้วยข้อมูลสภาพการณ์หรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ  ข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำมาศึกษาวิเคราะห์ด้วยวิธีการอุปมาน  แล้วสรุปตีความผลการวิเคราะห์ตั้งเป็นองค์ความรู้  เป็นกฎหรือทฤษฎี    กรณีของการศึกษาวิจัยวิธีการเชิงปริมาณจะเริ่มต้นด้วยกฎหรือทฤษฎีก่อน  จากนั้นข้อมูลเชิงประจักษ์จะถูกรวบรวมและนำมาศึกษาวิเคราะห์ด้วยวิธีการอนุมาน และสรุปเป็นข้อค้นพบ

เปรียบเทียบความแตกต่างในคุณลักษณะของการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ

การวิจัยเชิงคุณภาพ

การวิจัยเชิงปริมาณ

1.  มีรากฐานมาจากปรัชญาแนวคิดแบบธรรมชาตินิยม(Naturalism) 

2. มุ่งทำความเข้าใจในปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างลึกซึ้ง

3. เป็นการวิจัยที่เน้นการพรรณนา/อธิบาย (Descriptive approach)

4. ให้ความสำคัญกับกระบวนการได้มาซึ่งความจริงโดยมองแบบองค์รวม (Wholisticview)

5. ใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงอุปมาน

6. มุ่งแสวงหาความรู้เพื่อสร้างเป็นกฏ/ทฤษฎี

7. สิ้นสุดการศึกษาวิจัยด้วยทฤษฎี

8. ส่วนใหญ่เป็นการวิจัยในสาขาวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

1. มีรากฐานมาจากปรัชญาแนวคิดแบบปฏิฐานนิยม (Phenomenalism)

2.มุ่งเน้นกาความจริงที่คนทั่วไปจะยอมรับ (common reality)

3. เป็นการวิจัยที่มุ่งเน้นการวิเคราะห์และทดลอง () ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยวิธีการทางสถิติ

4. ให้ความสำคัญกับผลที่จะได้รับมากกว่ากระบวนการการดำเนินการมีขั้นตอน ระเบียบแบบแผนที่ค่อนข้างแน่นอน

5. ใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงอนุมาน ด้วยการทดสอบคำตอบที่คาดคิดไว้ล่วงหน้า

6. เริ่มต้นการศึกษาวิจัยด้วยทฤษฎี

7. เริ่มต้นการศึกษาวิจัยด้วยทฤษฎี

8. ส่วนใหญ่เป็นการวิจัยในสาขาวิทยาศาสตร์

ที่มา : มนัส  สุวรรณ. ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ . พิมพ์ที่ โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮาส์ , กรุงเทพฯ . 2544. 

ขั้นตอนของกระบวนการทำวิจัยสามารถแบ่งเป็น 5 ขั้นตอน ได้แก่

          1.  การกำหนดปัญหาการวิจัย (Problem definition) ซึ่งจะคลอบคลุมถึง ที่มาและความสำคัญของปัญหาการวิจัย จุดมุ่งหมายของการวิจัย สมมติฐานของการวิจัย และประโยชน์ที่จะได้รับ 

          2.  การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Review related literature) เป็นการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องว่ามีใครทำวิจัยในประเด็นเกี่ยวกับปัญหานั้น ๆ ไว้บ้าง ผลการวิจัยได้ข้อค้นพบอะไรบ้าง การวิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยอย่างไร ตัวแปรที่ศึกษามีอะไรบ้าง กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นอย่างไร เครื่องมือและเทคนิคที่ใช้ทำวิจัยมีอะไร เป็นต้น

          3.  วิธีดำเนินการวิจัย (Method) เป็นการกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย (conceptual framework) ว่าการวิจัยมีประเด็นและสาระสำคัญอะไรบ้าง และขอบเขตการวิจัยเป็นอย่างไร ตัวแปรที่ศึกษามีอะไรบ้างและนิยามอย่างไร แบบแผนการวิจัย (research design) เป็นอย่างไร การกำหนดประชากรและการเลือกกลุ่มตัวอย่าง การสร้างเครื่องมือการวิจัยและการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ การเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล 

          4.  การรายงานผลการวิจัย (Result) เป็นการแสดงผลลัพธ์จากการวิจัย แสดงผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลและแปลผลให้อยู่ในรูปแบบของรายงานการวิจัย

          5.  การสรุปและอภิปรายผล (Conclusion and Discussion) เป็นการสรุปการดำเนินงานทั้งหมดตั้งแต่การกำหนดปัญหาการวิจัย จุดมุ่งหมายการวิจัย วิธีดำเนินการวิจัยอย่างย่อ ผลการวิจัย และอภิปรายผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ตลอดจนข้อเสนอแนะในการประเด็นปัญหาวิจัยที่ควรได้รับการวิจัยต่อไป 

การกำหนดประเด็นปัญหาในการวิจัยโดยทั่วไป

          ปัญหาการวิจัย (Research Problem) หมายถึง สิ่งที่ก่อให้เกิดความสงสัย ใคร่รู้คำตอบ   ดังนั้น การกำหนดปัญหาการวิจัย จึงหมายถึง การระบุประเด็นที่นักวิจัยสงสัย และประสงค์ที่จะหาคำตอบ ซึ่งก็คือ ปัญหาการวิจัย นั่นเอง ฉะนั้น นักวิจัยจึงจำเป็นต้องระบุปัญหาการวิจัยให้เป็นกิจลักษณะ และชัดแจ้งทุกครั้งที่ดำเนินการวิจัย

        หลังจากกำหนดหัวข้อปัญหาในการวิจัยได้ตามความเหมาะสมแล้ว  ขั้นต่อไปจะต้องกำหนดประเด็นปัญหาของการทำวิจัยในชัดเจน  เป็นการตีกรอบปัญหาให้อยู่ในวงจำกัด  ซึ่งการตีกรอบปัญหาให้ชัดเจนจะช่วยให้ผู้วิจัยกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัยออกมาให้เด่นชัดขึ้น  เพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบวิจัยและวางแผนงานของการวิจัยในขั้นอื่น ๆ ต่อไป

            ประเด็นปัญหาในการวิจัย  โดยปกติจะเป็นปัญหากว้าง ๆ ที่ผู้วิจัยสนใจและอยากรู้คำตอบ  เช่น “การย้ายถิ่นของประชากรในประเทศไทย”  เบื้องหลังปัญหานี้อาจมีสิ่งต่าง ๆ มากที่ผู้วิจัยอยากรู้  เช่น จำนวนผู้ย้ายถิ่น  แบบแผนการย้ายถิ่นและ/หรือปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการย้ายถิ่น  แต่ด้วยข้อจำกัดในเรื่องค่าใช้จ่าย เวลา และความรู้ความสามารถ  อาจทำให้ผู้วิจัยไม่สามารถศึกษาได้ทุกประเด็น  นั้นเป็นหน้าที่ของผู้วิจัยที่จะต้องเสนอหรือแสดงให้ผู้อื่นทราบและเข้าใจ  การกำหนดประเด็นปัญหา คือวิธีการสรุปปัญหากว้าง ๆ ที่เลือกมาให้แคบงเพื่อสะดวกแก่การเข้าใจ 

การกำหนดประเด็นปัญหาในการวิจัยทางการพัฒนาชุมชน

          การพัฒนาชุมชนในอดีตที่ผ่านมา  จะเห็นว่าการพัฒนาชุมชนหรือชนบทเป็นการพัฒนาในเชิงที่ “ชุมชนและท้องถิ่นถูกพัฒนา”  รัฐบาลเป็นผู้กำหนดกรอบความคิดและวางแผนในการพัฒนาบ้านเมืองพัฒนาท้องถิ่น พัฒนาชุมชน แล้วรัฐบาลก็ไปจัดการ ไปดำเนินการผ่านกลไกของระบบราชการ ชุมชนและท้องถิ่นจึงถูกพัฒนา ซึ่งหมายถึง ถูกสั่ง ถูกบอก และร่วมพัฒนาไปด้วย กระบวนการพัฒนาเกิดขึ้นภายใต้ระบบราชการที่รัฐบาลเป็นผู้กำกับ จากข้างบนลงล่าง บทบาทของชุมชนและท้องถิ่นในการพัฒนาจึงเป็นบทบาทรอง เป็นบทบาทที่ไม่สำคัญ บทบาทที่โดดเด่นและมีความสำคัญก็คือรัฐ  โดยรัฐเป็นผู้ดำเนินการพัฒนาชุมชน และชุมชนเป็นผู้ถูกพัฒนา ชุมชนร่วมพัฒนา

            ในการกำหนดประเด็นปัญหาการวิจัยการพัฒนา ก็ต้องปรับกระบวนทัศน์ ปรับแนวคิดใหม่ จาก “ชุมชนถูกพัฒนา” ขยับเป็นขั้น “ชุมชนร่วมพัฒนา” ในกระบวนการวิจัยพัฒนาต้องให้ความสำคัญกับบทบาทของชุมชนมากขึ้น ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการวิจัยด้วย เรียกว่า “ชุมชนเป็นศูนย์กลางของการวิจัย”  

หนังสืออ้างอิง

            1. มนัส  สุวรรณ. ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ . พิมพ์ที่ โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮาส์ , กรุงเทพฯ . 2544. 

            2. ยุทธ  ไกยวรรณ์ . พื้นฐานการวิจัย (ฉบับปรับปรุงใหม่) . สุวีริยาสาส์น , กรุงเทพฯ . พิมพ์ครั้ง ที่ 4 . 2545.

About thanakrit k.

the Second hand boy.

Posted on กรกฎาคม 3, 2012, in Uncategorized and tagged , , , . Bookmark the permalink. ใส่ความเห็น.

ใส่ความเห็น